โจโฉ – ตัวโกงหรือวีรบุรุษ.ในสามก๊ก
หากพูดถึง โจโฉ ตัวละครเอกในฐานะผู้ร้ายในเรื่องสามก๊กเพราะมีลักษณะนิสัยโหดเหี้ยม เด็ดขาด แต่ในมุมมองของวิทยากรทั้ง 3 กลับมองว่าเป็นรัฐบุรุษ เพราะคำว่า “ทะเยอะทะยาน” อาจแปลว่า “มุ่งมั่น” และคำว่า “โหดเหี้ยม” อาจจะหมายถึง “เด็ดขาด” ได้เช่นกัน
“โจโฉก็จัดการกับเจ้าพ่อมาเฟียหมด ทำให้เขาได้เห็นว่าราชวงศ์ฮั่นเสื่อมอย่างไร เสื่อมเพราะขันที เพราะมาเฟีย ขุนนางไร้สติปัญญาที่ซื้อตำแหน่งเข้าไป ทางเดียวที่จะทำได้คือจัดการ แต่ว่าจะจัดการโดยการก่อกบฏเหมือนโจรโพกผ้าเหลืองหรือเปล่า ใจโจโฉคงไม่คิดจะทำ เพราะว่าเขาเลือกที่จะใช้ชีวิตราชการเพื่อที่จะไต่เต้าขึ้นไปมีบทบาทในราช สำนักฮั่นตอนนั้น เพราะถ้าเขาอยู่ในจุดสูงสุดที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้วก็จะทำให้ ราชวงศ์ดีขึ้นได้ ผมคิดว่านี่คือมุมมองของโจโฉ” เมธา อธิบาย
สำหรับเมธาเองเขายอมรับว่าเคยมองโจโฉ สามก๊ก เป็นผู้ร้าย ที่ต่อสู้กับฝ่ายพระเอกคือเป็นเล่าปี่และขงเบ้ง แต่พอมาวิเคราะห์ดูแล้วกลับทำให้เห็นว่า โจโฉเสียเลือดเพื่อให้ได้แผ่นดิน ส่วนเล่าปี่เสียแต่น้ำตาเพื่อให้ได้แผ่นดิน เลือดย่อมข้นกว่าน้ำตา ความทุ่มเทและการต่อสู้ที่ต้องแลกมาด้วยรอยแผลมีค่ามากกว่าการใช้น้ำตาเรียก ร้องความเห็นใจ และโจโฉเองก็ไม่ได้คิดร้ายต่อราชสำนักอย่างที่ตีความกัน ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อตอนฮ่องเต้หลบหนี ลิฉุย กุยกี ที่พยายามร่วมมือกันปลงพระชนม์ เขาคงไม่ยกทัพไปช่วย จนเมื่อในที่สุดโจโฉมีอำนาจสูงสุดก็ไม่ยอมขึ้นเป็นฮ่องเต้เสียเอง แม้จะมีเสียงสนับสนุนมาก แสดงให้เห็นถึงความรักที่มีต่อสถาบัน เพียงแค่เขาสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองอย่าง “เบ็ดเสร็จ” ได้ก็เพียงพอแล้ว