แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เมืองน่าอยู่ของโลก

แวนคูเวอร์เป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ในรัฐ British Columbia ทางตะวันตกของแคนาดา และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในแถบนี้ และมากเป็นอันดับ 8 ของแคนาดาอีกด้วย

ต้นกำเนิดของเมืองเริ่มตั้งแต่ตอนปลายของศตวรรษที่ 19 ซึ่งในตอนนั้นแวนคูเวอร์เป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ที่เรียกว่า Granville หรือ Gastown ซึ่งเกิดจากโรงแรมเล็กๆ ที่ถูกสร้างขึ้นให้ช่างไม้ได้พักอาศัย จากโรงแรมเล็กๆ ริมน้ำ ขยายใหญ่กลายเป็นเมืองแวนคูเวอร์อย่างรวดเร็วเนื่องจากการพัฒนาด้านทางรถไฟของแคนาดา ทำให้ผู้คนหลั่งใหลมารวมกัน ณ ที่แห่งนี้

ท่าเรือของแวนคูเวอร์นับเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ทำให้เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกและนำเข้าสินค้าไปโดยปริยาย นอกจากนี้เมืองยังทำรายได้มหาศาลจากอุตสาหกรรมโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่เข้ามาถ่ายทำ ความสวยงามของเมืองแห่งนี้เองที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักศึกษาต่างชาติให้แวะเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก โดยประชากรเกินครึ่งไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ประกอบด้วยชาวเอเชียซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนถึง 25% (ไชน่าทาวน์ของที่นี่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอเมริกาเหนือ) นอกจากนี้ยังมีภาษาพันจาบี และภาษาเวียดนาม ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในเมืองนี้

หนึ่งในความภูมิใจของเมืองคือการที่เมืองแวนคูเวอร์ได้รับการโหวตว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2014 ที่ผ่านมา ซึ่งคะแนนโหวตขึ้นกับปัจจัยสำคัญอย่างวัฒนธรรมและการศึกษา (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ที่นี่เป็นที่ๆ น่าเรียนต่ออย่างยิ่ง) ดังนั้นถึงแม้ค่าครองชีพจะสูงกว่าเมืองอื่นๆ เล็กน้อย แต่ชีวิตที่นี่ก็น่าจะสะดวกสบายและน่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เมืองแวนคูเวอร์เป็นที่นิยมคือสภาพอากาศที่สดใส โดยมีวันที่หิมะตกน้อยกว่า 15 วันใน 1 ปี ซึ่งแตกต่างจากแคนาดาที่หลายๆ คนคาดไว้ (ว่าจะมีหิมะตกทุกวัน) แต่ที่นี่นั้นสภาพอากาศส่วนใหญ่จะฟ้าโปร่ง และเราจะได้เห็นแสงอาทิตย์มากกว่าเมืองอื่นๆ ทุกเมืองในแคนาดา

พาชมรอบเมือง

ถ้าคุณชอบชีวิตนอกบ้าน แวนคูเวอร์เป็นอีกเมืองที่น่าอยู่มาก เพราะมีแสงแดดให้เรารู้สึกสดชื่นทุกวัน ลองแวะไป Stanley Park ซึ่งเป็นสวนสาธารณะในเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในอเมริกาเหนือ (ใหญ่กว่า Central Park ในนิวยอร์กกว่า 10 เท่า) ที่นี่มีถนนริมทะเลให้เราปั่นจักรยานพร้อมชมวิวยาวกว่า 9 กม. นอกจากนี้ยังมี Vancouver Aquarium ที่เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา อยู่ภายในสวนอีกด้วย

ถ้าชอบกิจกรรมทางน้ำ สามารถนั่ง Water Taxi หรือพายเรือคายัคไปยังตลาดบนเกาะ Granville ได้ ที่นั่นมีปลา เนื้อ ผลไม้ ผัก ชีส ขนมปัง และงานศิลปะที่ผลิตภายในท้องถิ่น ทำให้มั่นใจได้ว่าอาหารจะสดใหม่ และงานศิลปะจะไม่เหมือนใครแน่นอน

ในช่วงฤดูร้อน ที่นี่จะมีเทศกาล Shakespeare ประจำปีที่เรียกว่า ‘Bard on the Beach’ ซึ่งจะมีการแสดงจากบทประพันธ์ของเชคเสปียร์ให้ดูในเต้นท์ริมน้ำ เหมาะสำหรับนักศึกษาสายมนุษย์ศาสตร์และศิลปศาสตร์ หรือผู้มีใจรักทางด้านศิลปวัฒนธรรม เทศกาลที่จัดมา 25 ปีนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน

และเนื่องจากที่นี่มีประชากรเป็นชาวเอเชียค่อนข้างมาก ทำให้มีอาหารเอเชียอร่อยๆ ให้เลือกชิมมากมาย หลายคนบอกว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมอาหารที่น่าสนใจที่สุดในอเมริกา โดยเฉพาะในย่านเก่าแก่อย่าง Gastown ซึ่งมีบาร์เก๋ๆ ร้านอาหาร และคลับที่น่าสนใจให้เลือกชมและชิมอย่างไม่รู้เบื่อ

 

 

ประวัติศาสตร์แวนคูเวอร์

ประวัติศาสตร์แวนคูเวอร์

yaletown-vancouver-canada

แวนคูเวอร์มีประวัติความเป็นมาย้อนกลับไปนานกว่า 4,000 ปีที่แล้วโดยอ้างอิงจากบันทึกทางโบราณคดีที่สันนิษฐานว่ามีชนเผ่าต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ จนกระทั่งปีค.ศ. 1791 จึงได้มีการค้นพบพื้นที่ชายฝั่งแห่งนี้โดย Jose Maria Narvaez ชาวสเปน หนึ่งปีต่อมากัปตันจอร์จ แวนคูเวอร์ ราชนาวีอังกฤษเดินทางผ่านช่องแคบมาถึงดินแดนนี้และตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษดั่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จนกระทั่งปีค.ศ.1825 จึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ โดยดร.จอห์น แมคโลลิน (Dr.John McLoughlin) จากบริษัทฮัดสันเบย์ในแอสโทเรียเล็งเห็นว่าพื้นที่นี้เป็นย่านการทำธุรกิจที่ดี จึงย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ที่และตั้งเป็นสถานีการค้า Fort Vancouver

ในช่วงปีค.ศ.1861 ผู้คนพากันหลั่งไหลเข้ามาในแวนคูเวอร์เนื่องจากเป็นยุคตื่นทอง โดยมีผู้อพยพมากกว่า 25,000 คนเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำเฟรเซอร์ และมีชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานในปีต่อๆ มาที่ฟาร์ม McLeery ทางตะวันออกของ Marpole อุตสาหกรรมป่าไม้เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกโดยกัปตันเอ็ดเวิร์ด แสตมป์ ได้สร้างโรงเลื่อยขึ้นบริเวณขาเข้าบนชายฝั่งทางตอนใต้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องยาวนานกับอุตสาหกรรมป่าไม้จนล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ 20

ย่านชุมชนเมืองเก่า หรือ แกสทาวน์ (Gastown) เดิมถูกเรียกว่าแกรนด์วิลล์ (Granville) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งเป็นชุมชนแห่งแรกของเมือง พื้นที่บริเวณนี้ถูกพัฒนาและเติบโตจากการเริ่มต้นของนักบุกเบิกยุคแรก Jack Deighton โดยสร้างที่พักขนาดเล็กเพื่อบริการแก่ผู้ที่แวะเวียนสัญจรผ่านมาซึ่งสร้างถัดจากโรงเลื่อย Hastings Mill ด้วยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งและอ่าวธรรมชาติที่โอบล้อมทำให้ที่นี่ถูกเลือกเป็นปลายทางสำหรับเส้นทางเดินรถไฟข้ามทวีปสายแคนาดาแปซิฟิก

เมืองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปรัฐวอชิงตันของสหรัฐอเมริกาในปี 1907 ไม่กี่ปีต่อมามีการสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโคลัมเบียและสะพานที่ใช้ข้ามภายในรัฐซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 1917

แวนคูเวอร์ประสบกับคลื่นการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อชาวยุโรปจำนวนมากตัดสินใจเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่โดยถูกดึงดูดจากความงดงามทางธรรมชาติและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมือง แวนคูเวอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นในปี 1986 หลังประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo

 

นครแวนคูเวอร์เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก

13

นครแวนคูเวอร์เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลกความน่าอยู่และงดงามของเมืองเกิดจากระบบการวางผังที่ยึดมั่นและเคารพต่อสภาพ ความงดงามของสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ การใช้องค์ความรู้ในระดับสูงในการออกแบบเมืองซึ่งได้สร้างให้แวนคูเวอร์มี ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการบริการประชาชน ทุกก้าวย่างในการปฏิบัติงานตามแผนการพัฒนาเมือง การสร้างวิสัยทัศน์ชุมชนและการเพิ่มขึ้นของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ  แวนคูเวอร์ได้ยึดมั่นเกณฑ์สำคัญจากการเติบโตอย่างชาญฉลาด เช่น การสร้างย่านที่น่าอยู่ภายใต้ความหลากหลายของผู้คนและเชื้อชาติ  การสร้างชุมขนให้กระชับ การผสมผสานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การสร้างให้เป็นชุมชนแห่งการเดิน  ซึ่งแวนคูเวอร์เชื่อมั่นในแนวทางและก้าวย่างที่ผ่านมาและจะยึดมั่นในแนวทางนี้ต่อไป

แวนคูเวอร์ในอนาคตมีความเสี่ยงทั้งจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ความกดดันด้านสภาวะแวดล้อมการลดลงของทรัพยากร ความท้าทายด้านความปลอดภัยทางอาหารและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าครองชีพที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ โอกาสการมีชีวิตที่ดีขึ้น และความยั่งยืนในระยะยาว สภาแห่งนครแวนคูเวอร์ได้กำหนดเป้าหมายไว้มากมายสำหรับการจัดการลดผลกระทบจาก สภาวะโลกร้อน (เช่น  การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6  ในปี ค.ศ. 1990  ร้อยละ 33 ในปี ค.ศ.2012 และร้อยละ 80 ในปี ค.ศ. 2050)  และสร้างระบบจัดการเชิงลึกต่อปัญหาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากทุกแหล่งข้อมูลตลอดจนติดตามประเมินผลทุกความก้าวหน้าจากการปฏิบัติงาน

ประชากรในระดับภาคเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนั้น  การพัฒนาที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่เขตเมืองจะไม่เพียงพอ  ราคาที่อยู่อาศัยจะสูงขึ้นซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ประชากรต้องย้ายออกไปยัง ย่านชานเมือง  และเป็นปัจจัยให้เกิดการกระจัดกระจายของเมืองที่เป็นต้นเหตุของการทำลาย พื้นที่การเกษตรและพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ย่านพาณิชยกรรมใจกลางนครแวนคูเวอร์เป็นย่านพาณิชยกรรมระดับภาคที่เมืองได้ สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งงานและที่มาของรายได้ครัวเรือนของชาวแวนคูเวอร์ ดังนั้น ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะต้องมีความพร้อมด้านที่พักอาศัยให้กับประชาชนและ ไม่ตัดโอกาสในการมีที่พักอาศัยในย่านดังกล่าว สภาพของนิเวศเมืองและขนาดรอยเท้าทางนิเวศของนครแวนคูเวอร์ได้ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบันมีการบริโภคทรัพยากรเกินกว่าความ สามารถที่มีเช่นเดียวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งกำลังจะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง  ในขณะที่อาคารซึ่งไม่ใช่อาคารเขียวยังคงมีอยู่อีกมาก

เที่ยวแวนคูเวอร์เพื่อสัมผัสบรรยากาศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก

แวนคูเวอร์ (Vancouver) เป็นเมืองท่าชายฝั่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา ในรัฐบริติชโคลัมเบีย แม้จะไม่ใช่เมืองหลวงของรัฐ แต่ก็เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงมากเมืองหนึ่ง ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองซึ่งถูกโอบล้อมด้วยขุนเขาและทะเล มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญคือสภาพอากาศอบอุ่นสบายทั้งปี ใครที่คิดว่าเมืองนี้จะหนาวจนอยู่ไม่ได้ ก็น่าจะถูกเพียงครึ่งเดียวครับ เพราะแวนคูเวอร์ถึงแม้จะหนาวในฤดูหนาว แต่นานๆ ครั้งชาวเมืองถึงจะมีโอกาสสัมผัสกับหิมะสักที ไม่เหมือนฝนที่ตกกันให้เห็นเกือบตลอดทั้งปี ความอบอุ่นที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ นี้เอง ทำให้ในแต่ละปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิเข้าสู่ฤดูร้อนราวเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสความงดงามของแวนคูเวอร์มากเป็นพิเศษ นอกจากความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือนก็คือ ความเป็นระเบียบและสภาพแวดล้อมที่สะอาดของบ้านเมือง พร้อมด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม ชาวแวนคูเวอร์มีคุณภาพชีวิตที่ดีถึงดีมาก นักท่องเที่ยวจึงแทบไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาอาชญากรรม

สำหรับสถานที่ที่ไม่ควรพลาด คือ สวนสาธารณะสแตนเลย์ สวนสาธารณะที่ได้รับการยกย่องว่าใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเมืองแวนคูเวอร์ใช้ที่นี่เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามบริสุทธิ์ของธรรมชาติ และยังได้ถ่ายภาพกับเสาโทเท็ม ของชนเผ่าอินเดียนแดง สัญลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ สำหรับรำลึกว่าที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของอินเดียนแดง เสาโทเท็มนี้ยังปรากฏอยู่ตามสถานที่สำคัญของเมืองอีกหลายแห่ง เป็นสัญลักษณ์เด่นที่ทำให้ผู้คนจดจำเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกแห่งนี้ สถานที่ต่อมา คือ แกสทาวน์ เหมาะสำหรับเดินเล่นชมตึกรามและร้านค้าทรงเก่า และมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอย่าง นาฬิกาไอน้ำ

จะเห็นได้ว่า สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้เป็นแค่เศษเสี้ยวบางส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองแวนคูเวอร์ที่น่ามาเที่ยวชมกัน แต่ว่าที่เมืองแวนคูเวอร์นั้นยังมีที่เที่ยวที่สวยงามและน่าชมอีกมากมาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวในโลกกว้างทั้งหลาย คงต้องหาโอกาสมาสัมผัสกับเมืองแวนคูเวอร์จะได้รู้ว่าน่าอยู่และน่าเที่ยวแค่ไหน

ผู้ประกอบการสำนักพิมพ์จำเป็นต้องปรับตัวปรับกลยุทธ์ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุคนี้

ท่ามกลางสถานการณ์การเข้าร้านหนังสือและซื้อสินค้ามีแนวโน้มลดลง เห็นได้จากยอดขายร้านหนังสือชะลออย่างมากเมื่อเทียบกับยุคก่อน ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัว ปรับกลยุทธ์ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุคนี้

“หากหนังสือมุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายคนทั่วไป ทุกเพศทุกวัย อาจไปไม่รอด เช่นเดียวกับหนังสือ ที่ไม่วางตำแหน่งกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เชื่อว่าขายยากมากในปัจจุบัน แต่หากเป็นหนังสือเฉพาะกลุ่ม ถือว่ามีโอกาสทางธุรกิจในยุคนี้ ที่สามารถใช้เครื่องมือสื่อดิจิทัลในการสื่อสารตอบโจทย์ความสนใจเฉพาะด้าน”

ในโลกออนไลน์ที่สามารถค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ความสนใจผู้บริโภคได้อย่างง่ายๆ ตัวอย่างเว็บไซต์กูเกิล ที่มีผู้เข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านคำค้นต่างๆ ที่อยู่ในกระแส สำนักพิมพ์อาจเลือกดึงความสนใจของผู้คนจากคำค้นยอดฮิต มาผลิตเป็นหนังสือ ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกกว่าในอินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าสื่อออนไลน์เป็นอีกช่องทางสำคัญในการพัฒนาคอนเทนท์หนังสือให้น่าสนใจ

นอกจากการพัฒนาคอนเทนท์ทางเว็บไซต์แล้ว สำนักพิมพ์บริษัทยังจัดทำหนังสือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่น โดยศึกษาจากความต้องการของนักเรียนนักศึกษาที่พร้อมจ่ายเงินซื้อหนังสือที่สนใจ ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการใช้งานและข้อมูล จึงมองว่าหนังสือบางประเภทไม่จำเป็นต้องจัดทำในรูปแบบอีบุ๊คตามกระแส แต่การผลิตหนังสือในรูปแบบใดจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

“เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตามเทคโนโลยีทุกเรื่อง หากสินค้าเราน่าสนใจ มีจุดขาย และกลุ่มเป้าหมายชัดเจน โดยอาจเริ่มต้นที่ นิช มาร์เก็ต ก่อนจะพัฒนาสู่ตลาดแมส หากกลุ่มเป้าหมายขยายตัว”

แนวทางด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ยังต้องพิจารณาช่วงเวลาการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัย เช่น ช่วงเปิดเทอมกลุ่มวัยรุ่นมักใช้อินเทอร์เน็ตช่วง 2-3 ทุ่ม ส่วนช่วงปิดเทอมจะใช้งานทั้งวัน ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่จะใช้ช่วงเที่ยงถึงบ่ายโมง และใช้มากที่สุดในช่วงค่ำ ดังนั้นจำต้องดูช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย

แวนคูเวอร์มีสภาพอากาศที่ดีด้วยอิทธิพลของที่ตั้งใกล้เทือกเขาและใกล้มหาสมุทร

5

แวนคูเวอร์ตั้งอยู่ในอเมริกาเหนือทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริติชโคลัมเบีย ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันตกสุดของแคนาดา ติดกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันตก และเทือกเขาร๊อกกี้ทางตะวันออก อากาศอบอุ่นโดยอิทธิพลของมหาสมุทรแปซิฟิค และมีเทือกเขาเป็นแนวกั้น แวนคูเวอร์จึงมีอากาศดีตลอดทั้งปี ช่วงฤดูหนาวอากาศจะชื้นแต่ไม่หนาว หิมะตกน้อยมาก มหานครแวนคูเวอร์ประกอบไปด้วย 21 เขตเทศบาล ครอบคลุมพื้นที่ 2,930 ตร.กม. ล้อมรอบที่ราบลุ่มแม่น้ำ Fraser ตัวเมืองแวนคูเวอร์เป็นเขตที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดมีหลายอย่างน่าทำ เมื่อมาอยู่ที่แวนคูเวอร์ เช่นกีฬาฤดูหนาว ช้อปปิ้ง เดินตลาด ชมพิพิธภัณฑ์ ท่องเที่ยวผจญภัย หรือแม้แต่พักผ่อนสบายๆ เราอยากแนะนำสถานที่บางแห่งซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเมืองนี้:

The Vancouver Lookout จุดชมวิวเมืองแวนคูเวอร์ ที่ความสูง 130 เมตร (430 ฟุต) สามารถมองเห็นตัวเมือง Harbour Centre ที่สวยงามได้ชัดเจน The Capilano Suspension Bridge: สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 1889 และสะพานแห่งนี้ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้มาเยือนเสมอมา ระหว่างการเดินข้ามสะพานความยาว 135 เมตร และความสูง 70 เมตรข้างใต้ สะพานแห่งนี้เป็นหนึ่งในสะพานแขวน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น The Vancouver Aquarium: ที่อควาเรียมแห่งนี้ มีสัตว์จากรอบโลกอาศัยอยู่กว่า 70,000 ตัว ถูกจัดแสดงอย่างน่าสนใจ และ สนุกสนาน

สภาพภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศทางด้านเหนือของแวนคูเวอร์ เป็นเมืองริมอ่าว ชื่อ Burrad Inlet ใกล้กันทางตะวันตกคือตัวเมือง และ ทางเหนือคือ English Bay ซึ่งที่ริมอ่าวเต็มไปด้วยเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ จอดรอการออกสู่ท้องทะเลทางด้านใต้ของเมืองแวนคูเวอร์ คือ แม่น้ำ Fraser ฝั่งตะวันออกคือย่าน Burnaby ห่างไปทางใต้เล็กน้อย เป็นย่านนอกเมืองที่เรียกกันว่า Richmond และ Delta แวนคูเวอร์มีสภาพอากาศที่ดี ด้วยอิทธิพลของที่ตั้ง ใกล้เทือกเขา และ ใกล้มหาสมุทร ทำให้อากาศดีตลอดปี มีบ้างที่อุณหภูมิต่ำถึง 0 องศาเซลเซียส และโดยทั่วไป ไม่สูง เกิน 22 องศาเซลเซียส มีฝนบ้างในหน้าหนาว ในเมืองมีหิมะตกน้อย สำหรับคนที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว เพียงเดินทางไปแถบภูเขา ซึ่งอากาศจะต่ำกว่าในตัวเมืองนิดหน่อย ก็จะได้สนุกกับสกี และ กีฬาอื่นๆอีกมาก

การทำความรู้จักก่อนออกเดินทางท่องเที่ยวในเมืองแวนคูเวอร์

28

การออกเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง เชื่อว่าทุกคนย่อมจะต้องมีจุดมุ่งหมายในใจว่าเพราะเหตุใดอยากจะไปเที่ยวยังประเทศนั้นๆ หรือเมืองนั้นๆ ซึ่งแต่ละคนก็คงจะมีเหตุจูงใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสวยงาม ทัศนียภาพทางธรรมชาติอันสวยล้ำ ศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังและงดงามมากมายที่เป็นดังเสน่ห์จูงใจให้เลือกไปเที่ยวกัน อย่างในตอนนี้ฉันมีเมืองเมืองหนึ่งทางซีกโลกอเมริกาเหนือมาแนะนำ นั่นก็คือแวนคูเวอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศแคนาดา เมืองแวนคูเวอร์ ล่าสุดเพิ่งได้รับการจัดอันดับจากหน่วยอีไอยู ของนิตยสาร “เดอะ อีโคโนมิสต์” ให้เป็นแชมป์เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก โดยการผลสำรวจเพื่อจัดอันดับอิง 5 ปัจจัยสำคัญ คือด้านสาธารณสุข เสถียรภาพ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาและสาธารณูปโภคต่างๆ  แต่ก่อนที่จะออกเดินทางไปเที่ยวแวนคูเวอร์กันมาทำความรู้จักเมืองแวนคูเวอร์ กันสักนิดว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่ บริติชโคลัมเบีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ชื่อเมืองแวนคูเวอร์นี้ถูกตั้งขึ้นหลังศตวรรษที่ 18 โดยนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อจอร์จ แวนคูเวอร์ที่ใช้เวลาในสำรวจพื้นที่เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียนแดง

เมืองแวนคูเวอร์นี้ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือ จึงเป็นช่องทางที่จะผ่านเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกช่องทางหนึ่ง ทิศเหนือจรดอ่าวเบอร์ราร์ด ทิศตะวันตกจรดช่องแคบจอร์เจีย และทิศใต้จรดแม่น้ำเพรเซอร์ ส่วนทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเล ทำให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในแคนาดา ลักษณะภูมิประเทศอาณาบริเวณ 3 ใน 4 ของแวนคูเวอร์นี้ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นเมืองที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักความงดงามตามธรรมชาติด้วยกิตติศัพท์ความสวยงามของภูมิประเทศ ที่ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา น้ำทะเล ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทำให้ “แวนคูเวอร์” เป็นเมืองในฝันของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนที่อยากจะเดินทางมาสัมผัสกับทัศนียภาพความงดงามเหล่านี้ และในปี 2010 เมืองแวนคูเวอร์ จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันโอลิมปิก และ พาราลิมปิกฤดูหนาว

แวนคูเวอร์เป็นดินแดนที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ

ILSC-Vancouver
แคนาดา เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประกอบไปด้วย 10 รัฐ และ 3 ดินแดน ซึ่งรัฐมีกฏหมายปกครองโดยตรง และดินแดนนั้นอยู่ภายใต้กฏหมายของสหพันธ์รัฐ ปัจจุบันประเทศแคนาดามีประชากรประมาณ 32 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มจำนวนประชากรมาจากการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น ชาวแคนาดาสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสัดส่วนที่มากที่สุดของประชากรของประเทศ ปัจจุบันมีคนไทยในแคนาดาประมาณ 10,000 คน รัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญสูงสุดกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ โดยคำนึงถึงการที่สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 1 และการที่สหรัฐฯ มีส่วนสำคัญในการป้องกันและป้องปรามปัญหาการก่อการร้ายที่อาจแทรกซึมเข้าสู่แคนาดาที่มีพรมแดนติดกับสหรัฐฯ

แวนคูเวอร์ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลบริติชโคลัมเบีย เป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันตกสุดของแคนาดา ติดกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกและเทือกเขาร็อกกี้ทางตะวันออก ในบางครั้งอาจเกิดความสับสนระหว่างเกาะแวนคูเวอร์กับเมืองแวนคูเวอร์ ความเป็นจริงเกาะแวนคูเวอร์นั้นเป็นเกาะที่เป็นที่ตั้งของเมืองวิคตอเรีย อันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดบริติชโคลัมเบียในปัจจุบัน ส่วนเมืองแวนคูเวอร์ก็ไม่ได้อยู่บนเกาะแวนคูเวอร์ แต่อยู่บนพื้นแผ่นดินใหญ่ของจังหวัดบริติชโคลัมเบีย อาณาบริเวณ 3 ใน 4 ของแวนคูเวอร์นั้นถูกรายล้อมไปด้วยภูเขาและทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงาม ด้านทิศเหนือจรดอ่าวเบอร์ราร์ด ทิศตะวันตกจรดช่องแคบจอร์เจีย และทิศใต้จรดแม่น้ำเฟรเซอร์ ส่วนทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเล จึงทำให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศแคนาดา

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประชากร คือแวนคูเวอร์เป็นดินแดนที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติมาอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนที่อพยพมาจากเกาะฮ่องกง และเมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็ได้มีการลงทุนทำธุรกิจในเมืองนี้ด้วย ทำให้พบเห็นคนต่างเชื้อชาติเดินอยู่เป็นจำนวนมาก ทางการของนครแวนคูเวอร์ได้ประมาณการเอาไว้ว่าในพื้นที่เขตปกครองเมืองแวนคูเวอร์นั้นมีประชากรที่เป็นคนกลุ่มน้อยอยู่มากถึงร้อยละ 41.7 และรองลงมาก็เป็นคนจากดินแดนชมภูทวีป ซึ่งได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ ส่วนอื่นๆนั้นก็มีมาจากเกาหลี ญี่ปุ่น และจากกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับละตินอเมริกา กับพวกกลุ่มประเทศอาหรับ และถึงแม้ว่าประเทศแคนาดาจะมีการใช้ภาษาราชการถึง 2 ภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ แต่การติดต่อสื่อสารของผู้คนในเมืองแวนคูเวอร์นั้นจะนิยมใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก รวมถึงมีการใช้ภาษาจีนอย่างแพร่หลาย

ความงดงามและมีชื่อเสียงอย่างมากของเมืองแวนคูเวอร์

Vancouver
ประชากรส่วนใหญ่ในแวนคูเวอร์มีเชื้อชาติแตกต่างกัน เพราะประเทศแคนาดาเปิดโอกาสรับผู้ขออพยพย้ายถิ่นจากนานาประเทศเข้ามาทำมาหากิน  ส่วนหนึ่งเพราะมีประชากรอาศัยอยู่น้อย มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อเก็บรายได้จากภาษี คนในเมืองจึงมีหน้าตาต่างๆกัน ชาวเอเชียผมดำโดยเฉพาะชาวจีนและฮ่องกงมีอยู่จำนวนมาก ด้านเหนือของแวนคูเวอร์ เป็นเมืองริมอ่าวชื่อ Burrad Inlet ใกล้กันทางตะวันตกคือตัวเมืองและทางเหนือคือ English Bay ซึ่งที่ริมอ่าวเต็มไปด้วยเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ จอดรอการออกสู่ท้องทะเล ทางด้านใต้ของเมืองแวนคูเวอร์คือ แม่น้ำ Fraser ฝั่งตะวันออกคือย่าน Burnaby ห่างไปทางใต้เล็กน้อย เป็นย่านนอกเมืองที่เรียกกันว่า Richmond และ Delta แวนคูเวอร์มีสภาพอากาศที่ดี ด้วยอิทธิพลของที่ตั้งใกล้เทือกเขาและใกล้มหาสมุทรทำให้อากาศดีตลอดปี มีบ้างที่อุณหภูมิต่ำถึง 0 องศาเซลเซียส และโดยทั่วไปไม่สูง เกิน 22 องศาเซลเซียส มีฝนบ้างในหน้าหนาว ในเมืองมีหิมะตกน้อย สำหรับคนที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว เพียงเดินทางไปแถบภูเขา ซึ่งอากาศจะต่ำกว่าในตัวเมืองนิดหน่อย ก็จะได้สนุกกับสกี และ กีฬาอื่นๆอีกมาก

ดาวน์ทาวน์ของแวนคูเวอร์นั้น เป็นศูนย์รวมธุรกิจและชีวิตเมือง จุดนี้จึงเต็มไปด้วยตึกระฟ้ากระจุกตัวกันอยู่อย่างสวยงาม ซึ่งนี่ก็คืออีกหนึ่งลานประลองของโลกสำหรับสถาปนิกหัวกะทิ ที่จะระดมฝีมือออกแบบกันอย่างเต็มที่ นี่เองที่ทำให้แวนคูเวอร์กลายเป็นเมืองในอันดับต้นๆของโลก ที่ขึ้นชื่อว่ามีแลนด์สเคปอันงดงาม และเป็นเมืองที่ถ่ายรูปออกมาได้สวยที่สุดเมืองหนึ่ง เส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงหัวใจคือ Robson Street ความจริงแล้วถนนสายนี้ทอดตัวตามแนวยาวของเมืองใหญ่ แต่โซนที่คึกคักหน่อยจะอยู่ช่วงกึ่งกลาง ซึ่งจุดนี้จะเต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย ตั้งแต่แฟชั่นยี่ห้อท้องถิ่นไปจนถึงแบรนด์เนมดัง รถเข็นฮอตด็อกข้างทางไปจนถึงร้านอาหารหรูหรา ทำให้ผู้คนขวักไขว่ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระจันทร์เวียนมาทำหน้าที่อีกหน ซึ่งนี่ถือว่าเป็น Shopping Street และ Lifestyle District ที่สำคัญของแวนคูเวอร์เลยทีเดียว

Highlight of Old Town

– The Gastown Steam Clock นาฬิกาไอน้ำชื่อดัง ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์คหัวใจสำคัญของแวนคูเวอร์ที่ใคร ๆ ก็ต้องแวะมาชม ตั้งอยู่ช่วงกลางของถนน Water Street และยังคงเดินด้วยพลังงานไอน้ำตามระบบโบราณดั้งเดิม ซึ่งมรดกล้ำค่านี้คือนาฬิกาไอน้ำเรือนแรกของโลกนั่นเอง

– Maple Tree Square บริเวณสี่แยก (ที่ไม่ได้ตัดกันเป็นมุมฉาก) ใจกลาง Gastown นั้นก็คือจัตุรัสแรกที่ผู้บุกเบิกคนสำคัญเริ่มก่อตั้งเมืองนี้ขึ้น ชาวแวนคูเวอร์เลยสร้างอนุสรณ์สถานเป็นรูปปั้นกัปตัน Gassy Jack Deighton ที่กำลังยืนอยู่บนถังไม้โอ๊ค เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สถาปนาอีกด้วย

– The Old Spaghetti Factory ร้านพาสต้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ถนน Water Street ซึ่งเป็นเสมือนอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองไปแล้ว ใครที่แวะมาเยี่ยมเยือน Gastown จึงมักไม่ลืมที่จะลองไปแวะชิมสปาเกตตีอร่อย ๆ สูตรดั้งเดิมที่ร้านนี้

แหล่งรวบรวมหนังสือหลากหลายที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษาที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี โดยงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 ปัจจุบันงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน และส่งเสริมให้อ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยเหลือบิดามารดา ผู้ปกครอง ครู และบรรณารักษ์ เรียนรู้และทำความเข้าใจเทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่าน แก่เด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสมและได้ผล

ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ด้วยการอ่าน สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ภายในงานพบการออกบูธและจำหน่ายหนังสือในราคาพิเศษจากสำนักพิมพ์ชั้นนำกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงกิจกรรมพบปะนักเขียนชื่อดังที่ท่านชื่นชอบอีกด้วย ถือว่าเป็นงานแสดงหนังสือที่ได้รับความสนใจและรอคอยจากบรรดาคนรักการอ่านมาตลอด เพราะถ้าคนในชาติอ่านมากขึ้นก็จะมีวิจารณญาณในการพิจารณาปัญหาและประเด็นต่างๆเพิ่มขึ้น โดยรับรู้และเข้าใจปัจจัยของปัญหาจากการอ่าน เหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลลบต่อสังคมก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ

เราจำเป็นต้องอ่านหนังสือให้มากขึ้นกว่านี้ เพื่อช่วยให้ประเทศสามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆไปได้นอกจากนี้การจัดงานในระดับนานาชาติเช่นนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับต่างประเทศได้ด้วย ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ มีประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและมากันเป็นกลุ่ม ทั้งนี้ภายในงานจะมีการจำหน่ายหนังสือหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือต่างประเทศ หนังสือแบบเรียน นิยาย วรรณกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนาและกิจกรรมบนเวที ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆแขนงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

การเปิดโอกาสให้คนไทยสัมผัสกับหนังสือจากนานาชาติ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และมองเห็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังสือในต่างประเทศ และขณะเดียวกันก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสัมผัสกับหนังสือไทย และยังเป็นสื่อกลางในการสร้างโอกาสให้กับนักเขียนและสำนักพิมพ์ของไทย ในการจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศ ผลทางอ้อมของการจัดงานยังเป็นการส่งเสริมให้สำนักพิมพ์ในประเทศไทยเกิดความตื่นตัว ปรับปรุงและพัฒนาการผลิตหนังสือให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ตลอดจนกระตุ้นการเรียนรู้ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง

สำนักพิมพ์ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับสื่อยุคดิจิทัล


การเข้ามาของสื่ออินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆเหล่านั้น กลับมาศึกษาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เปิดช่องทางให้สามารถเข้าถึงคนในทั่วทุกมุมโลกและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นว่าสามารถปรับให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอลและจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที และที่สำคัญคือบริการเหล่านี้ สามารถเปิดให้บริการโดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

การพิมพ์หนังสือกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอีบุ๊คและร้านค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะเมซอนดอทคอม แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ และกูเกิล อิงค์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนำไปสู่การผลักดันให้ลดราคาอีบุ๊ค ภายใต้เงื่อนไขตามข้อตกลงที่กำลังเจรจากันอยู่นั้น บริษัทใหม่จะดำเนินการในรูปของธุรกิจร่วมทุน โดยเบอร์เทลส์มานน์ถือหุ้นมากกว่า 50% เพียงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นว่า แรนดอม เฮาส์ มีขนาดใหญ่กว่า ด้วยยอดขายเมื่อปีที่แล้วกว่า 2,260 ล้านดอลลาร์ เทียบเพนกวินซึ่งมียอดขาย 1,600 ล้านดอลลาร์ เพนกวินมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์เล็กน้อย ขณะที่แรนดอม เฮาส์น่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเพนกวิน ดังนั้น กิจการร่วมทุนแห่งใหม่นี้ น่าจะมีมูลค่าหุ้นระหว่าง 2,000 – 3,000 ล้านดอลลาร์

เทคโนโลยีดิจิทัลเปิดทางให้นักเขียนเผยแพร่ผลงานได้ด้วยตัวเอง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า หันมาเปิดบริษัทผลิตหนังสือดิจิทัลแข่งกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ มากขึ้น ตัวเลขร้านขายหนังสือแบบเดิมที่ลดจำนวนลง กลายเป็นการเพิ่มงานยากให้กับสำนักพิมพ์ ในการแนะนำนักเขียนใหม่สู่กลุ่มผู้อ่าน สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ในการดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งคลังสินค้า การพิมพ์ การทำตลาด ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถตัดลดได้ เพราะในยุคดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานข้างต้น และแมคควิเวย์ทำนายว่า จะมีการควบรวมกิจการตามมาอีกในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบัน ส่วนแบ่งในตลาดการพิมพ์หนังสือกระจายอยู่ในมือบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ไซมอน แอนด์ ชูสเตอร์ ของซีบีเอส คอร์ป สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ธุรกิจในเครือของนิวส์ คอร์ป เจ้าของหนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล และลาการ์เดอร์ ของบริษัทฮาเซตต์ บุ๊ค กรุ๊ป

บริบทใหม่ของสำนักพิมพ์ในยุคดิจิตอลในปัจจุบันนี้

การแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดจะมาจากเหล่านักเขียนที่ไม่ต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์อย่างแต่ก่อนและหันมาเผยแพร่ผลงานของตนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง Amazon , Barnes & Noble และแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัว ซึ่งตรงนี้เองจะเหมือนเป็นการลดบทบาทของสำนักพิมพ์ในโลกยุคหลังการพิมพ์ (post-printing ) หรือไม่

ส่วนทางด้านสำนักพิมพ์เองก็เคลื่อนไหวไปในแนวทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และเป็นที่ชัดเจนว่า เป้าหมายของพวกเขา คือการรักษาตลาดในปัจจุบันไว้ อย่างไรก็ตามนี่ดูเหมือนจะไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว  มีการเสียส่วนแบ่งการตลาดทีละเล็กละน้อยเพิ่มขึ้นเรือย ๆ และตราบเท่าที่มีผู้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกตินั้น ยิ่งทำให้สำนักพิมพ์ลดบทบาทและความสำคัญลง

อะไรคือจุดแข็งที่สำนักพิมพ์มีและสามารถทำเงินได้ในบริบทใหม่นี้ิ
ทางเลือกหนึ่งที่น่าเป็นไปได้สำหรับสำนักพิมพ์ก็คือการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเหมือนดังผู้ให้บริการเนื้อหาฟรี หรือจ่ายเงินเมื่อเข้าใช้งาน (pay per use) และบริษัทที่ทำเกี่ยวกับด้านบรรณาธิการ มีหนังสือที่ผู้เขียนตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้วยตนเองอยู่จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาในเรื่องการพิมพ์และใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์  สำนักพิมพ์สามารถเสนอบริการพิสูจน์อักษรและแก้ไขงาน โดยคิดค่าบริการเป็นครั้ง ๆ ไป  และถ้าหากการให้บริการนี้ประสบความสำเร็จ จะมีผู้มาใช้บริการมากกว่าจำนวนคนที่บริษัทมี ตรงจุดนี้สามารถแก้ปัญหาได้โดยการสร้างบริการที่เป็นตลาดกลางแล้วเปิดให้นักพิสูจน์อักษรอิสระสามารถเข้ามาประมูลงานที่ตนเองสนใจจากนักเขียนที่ต้องการผู้พิสูจน์อักษรเช่นกัน ซ่ึ่งทางสำนักพิมพ์เองยังคงสามารถเสนอบริการของตัวเองได้ตามเดิม แต่ในระดับราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป  ซึ่งเมื่อคิดค่าธรรมเนียมพิเศษที่สูงกว่านี้ นักเขียนจะได้รับการประกันคุณภาพว่าพวกเขาจะได้รับบริการที่ดีกว่า เช่น นอกจากการแก้ไขงานแล้วยังมีการสอนในเรื่องลีลาการเขียนเพิ่มเติมอีกด้วย บริการที่สำคัญที่สุดที่สำนักพิมพ์จัดหาให้นั้น คือการคัดเลือกหนังสือและจัดเตรียมหนังสือเพื่อเข้าสู่ตลาด แม้ว่าในขั้นตอนของสำนักพิมพ์นั้นอาจจะไม่สมบูรณ์แบบในการค้นหาหนังสือที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยมันก็ประสบความสำเร็จในการร่อนกรองเอาเรื่องพวกน้ำเน่าที่ไม่สามารถอ่านได้ออกไปดังนั้นชื่อและที่อยู่ของสำนักพิมพ์ที่ปรากฏบนหน้าปกหนังสือนั้นจึงเป็นเหมือนสิ่งที่แสดงถึงระดับของคุณภาพ

การเลือกหนังสือก็เหมือนกับการที่สำนักพิมพ์กำลังผลิตหนังสือของตนเอง สำนักพิมพ์ต้องแก้ไข ผลิตและทำการตลาดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  นี่อาจรวมถึงการพูดคุยกันในบล็อกของบรรณารักษ์ นอกจากนี้การเลือกใช้บริการของสำนักพิมพ์ยังขึ้นอยู่กับหนังสือ ที่รวมถึงการดูแลแบบออฟไลน์ด้วย อย่างเช่น การจัดพิมพ์ การออกร้าน การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ  การโฆษณาและอาจรวมถึงการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้กับนักเขียนเพื่อให้ได้สิทธิการจัดการเหนือกว่าคนอื่น

เที่ยวเมืองแวนคูเวอร์ ณ สะพานแขวนคาพิลาโน (Capilano Suspension Bridge)

แวนคูเวอร์ มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายหลายประเภทเหมาะกับรสนิยมทุกเพศทุกวัย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่มากที่สุดของเมืองแวนคูเวอร์ สะพานแขวนคาพิลาโน มีความโดดเด่นด้วยความยาว 450 ฟุตและสูง 230 ฟุตเหนือแม่น้ำคาพิลาโน่ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปสู่ป่าฝนทางชายฝั่งตะวันตกและจุดท่องเที่ยวใหม่ล่าสุดของอุทยาน ได้แก่ ผจญภัยบนบ้านต้นไม้ ซึ่งระหว่างต้นไม้มีสะพานแขวนขนาดเล็กเป็นเส้นทางชมป่าที่เชื่อมต่อตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ้นเจ็ดแห่งที่ความสูงกว่า 100 ฟุตเหนือป่าเขียวชอุ่ม นอกจากนี้ผู้ที่สนใจสามารถใช้บริการนำเที่ยวชมธรรมชาติและโปรแกรมนักสำรวจรุ่นเยาว์ รวมถึงมีการจัดแสดงของสะสมส่วนบุคคลขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเกี่ยวกับเรื่องราวของกลุ่มชนชาวพื้นเมืองเผ่าอินเดียแดงที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ภายในพื้นที่สวนที่จัดไว้อย่างสวยงาม

สะพานแขวนคาพิลาโน ในบริทิชโคลอมเบีย ประเทศแคนาดา

ถูกสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2432 โดยวิศวกรชาวสกอตและข้าราชการจากแวนคูเวอร์ จอร์จ แกรนท์ แมกเกย์ ซึ่งในตอนนั้นสะพานแห่งนี้ทอดตัวยาว 137 เมตร เหนือแม่น้ำคาพิลาโน 70 เมตร ก่อนที่จะถูกปรับปรุงสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2499 จนในตอนนี้สะพานแขวนคาพิลาโนได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งมีความสูงที่น่าหวาดกลัวกับธรรมชาติอันแสนงดงาม และสะพานแขวนคาพิลาโนแห่งนี้ยังได้ถูกพิจารณาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในแวนคูเวอร์อีกด้วย

นักท่องเที่ยวจะได้เดินไปตามเส้นทางเดินป่าอันประกอบด้วยคลิฟวอร์ค ที่เป็นทางเดินริมหน้าผา ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดของอุทยานนี้ สะพานแขวนนี้ยื่นออกมาจากหน้าผาแกรนิตและพาคุณเชื่อมต่อไปยังเขตป่าฝน ตรงนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ของหุบเขาลึกจากเบื้องบนได้ บางจุดของทางเดินช่วงที่เป็นจุดที่สูงที่สุดจะถูกบุด้วยแผ่นกระจกใสเพื่อให้นักท่องเที่ยวมองเห็นยอดของต้นไม้ที่อยู่ใต้เท้าลงไปเพียงไม่กี่นิ้ว ที่จริงแล้วมีสะพานและทางเดินเท้าอีกหลายจุดคอยให้บริการที่ทรีท็อปส์ แอดเวนเจอร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะพาคุณเคลื่อนย้ายจากต้นสนดักลาสต้นหนึ่งไปยังอีกต้น

แวนคูเวอร์ เมืองหน้าอยู่อันดับ 3 ของโลก

แวนคูเวอร์ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดาและเป็นเมืองที่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีอากาศที่เย็นสบายและความสวยงามของภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยมหาสมุทรและหุบเขา ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โอบล้อมไปด้วยภูเขาและทะเล อากาศอบอุ่นสบายทั้งปีพร้อมด้วยระบบขนส่งขนมวลชนที่ดีเยี่ยม ทั้งยังเป็นเมืองที่สะอาดและปลอดภัย ส่งผลให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทุกปี แวนคูเวอร์ได้รับการโหวตให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก

เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองที่มีความเป็นสากลเพราะผู้คนจากทั่วโลกต่างหลั่งไหลเข้ามาในเมืองนี้ ผู้คนในแวนคูเวอร์จึงมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ทันสมัยและไม่เหมือนใคร มีย่านธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่นี่มีร้านอาหาร ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก มีร้านกาแฟบรรยากาศดีแลมีห้างสรรพสินค้ามากมายเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ ที่ชื่นชอบการช้อปปิ้ง นอกจากนั้นเทศกาลต่างๆ อาทิเช่น เทศกาลทางศิลปะ วัฒนธรรม อาทิเช่น เทศกาลดนตรี เทศกาลดอกไม้ไฟ งานแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ก็ถูกจัดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆอยู่เป็นประจำ ทำให้ในแต่ละปียังมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเพื่อเข้ามาสัมผัสความงามของเมืองแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

สถานที่แรกที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนแวนคูเวอร์

คือ สวนสาธารณะสแตนเลย์ สวนสาธารณะที่ได้รับการยกย่องว่าใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเมืองแวนคูเวอร์ใช้ที่นี่เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามบริสุทธิ์ของธรรมชาติ อย่าลืมแวะชมและถ่ายภาพกับเสาโทเท็มของชนเผ่าอินเดียนแดง สัญลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ สำหรับรำลึกว่าที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของอินเดียนแดง เสาโทเท็มนี้ยังปรากฏอยู่ตามสถานที่สำคัญของเมืองอีกหลายแห่ง เป็นสัญลักษณ์เด่นที่ทำให้ผู้คนจดจำเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกแห่งนี้

เมืองแวนคูเวอร์นี้ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือ

จึงเป็นช่องทางที่จะผ่านเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกช่องทางหนึ่ง ทิศเหนือจรดอ่าวเบอร์ราร์ด ทิศตะวันตกจรดช่องแคบจอร์เจีย และทิศใต้จรดแม่น้ำเพรเซอร์ ส่วนทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเล ทำให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในแคนาดา ลักษณะภูมิประเทศอาณาบริเวณ 3 ใน 4 ของแวนคูเวอร์นี้ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นเมืองที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักความงดงามตามธรรมชาติด้วยกิตติศัพท์ความสวยงามของภูมิประเทศ ที่ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา น้ำทะเล ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์

ส่องกลยุทธ์สำนักพิมพ์ โหมเทรนด์ ‘อีบุ๊ค’ รับตลาดแทบเล็ตบูม

การแข่งขันของธุรกิจ”หนังสือ” ในยุคดิจิทัล จำเป็นต้องปรับตัวรับมือ “สื่อใหม่” ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคนี้ ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้อ่านหนังสือเล่ม ทำให้บรรดา “สำนักพิมพ์”หลายค่าย ต่างเดินหน้าสร้างสรรค์กลยุทธ์ต่อยอดคอนเทนท์ รวมถึงผสมผสานการใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ เพื่อสร้างฐานผู้อ่านทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่และความสะดวกสบาย ซึ่งเกิดจากการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆส่งผลให้พฤติกรรมเรื่องการสืบค้นข้อมูล รวมถึงการ “อ่านหนังสือ” เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางประชากรไอแพดขยับเป็น 3 แสนรายในปีที่ผ่านมา ขณะที่ไอโฟนพุ่งกว่า 1 ล้านราย และเทรนด์การใช้แทบเล็ตยังขยายตัวต่อเนื่องนั่นหมายถึง แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ “อีบุ๊ค” ในยุคที่สื่อดิจิทัลกำลังเฟื่องฟู

โดยเฉพาะกลุ่มสำนักพิมพ์รายใหญ่ประมาณ 30 สำนักพิมพ์ จากสมาชิกสมาคมกว่า 500 สำนักพิมพ์ ซึ่งมีความพร้อมด้านการลงทุนได้นำร่องเปิดตัว “แอพพลิเคชั่น” ของสำนักพิมพ์ เปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือผ่านแอพสโตร์ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

มองว่าแนวโน้มการขยายตัวของตลาดอีบุ๊ค จะต้องมีปัจจัยสนับสนุนด้านการพัฒนาคอนเทนท์ในรูปแบบอีบุ๊คของสำนักพิมพ์ต่างๆ การขยายตัวของจำนวน สมาร์ทดีไวซ์ ประเภทแทบเล็ตเกิน 1 ล้านเครื่อง จากสิ้นปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3 แสนเครื่อง และการพัฒนาโครงข่าย 3G เพื่อสร้างความสะดวกและรวดเร็วในการดาวน์โหลด

ปัจจุบันสำนักพิมพ์ที่ให้บริการอีบุ๊คและมียอดดาวน์โหลดเกิน 1 ล้าน ส่วนใหญ่ยังเป็นการเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีถึง 90% แต่ถือเป็นอีกช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่ โดยมูลค่าของอุตสาหกรรมหนังสือเล่มในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าราว 22,800 ล้านบาท แม้ยังไม่สามารถประเมินเม็ดเงินจากตลาดอีบุ๊คได้ แต่ถือเป็นเทรนด์ที่กลุ่มสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลในอนาคต

ทิศทางอีบุ๊คกำลังได้รับความสนใจจากผู้อ่านทั่วโลก เห็นได้จาก “อะเมซอน” ได้ประกาศในเดือน พ.ค.ปีที่ผ่านมา ว่า ยอดขายอีบุ๊คได้แซงหน้าการขายหนังสือเล่มไปแล้ว เชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน เมื่อเทคโนโลยีพร้อม และการครองครอบแทบเล็ต ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการอ่านหนังสือในรูปแบบดิจิทัลบุ๊ค มีจำนวนมากพอ อีกทั้งอีบุ๊คยังเป็นโอกาสของการขยายตลาดใหม่ๆ ในกับสำนักพิมพ์โดยเฉพาะกลุ่มผู้อ่านในต่างประเทศได้เพิ่มเติม

“ปัจจุบันสำนักพิมพ์ค่ายใหญ่ๆ มีการพัฒนา บิซิเนส โมเดล เพื่อรองรับตลาดอีบุ๊คไว้พร้อมแล้ว เพราะวันนี้ โลกยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว หากตลาดและผู้บริโภคมีความพร้อม แต่สำนักพิมพ์ไม่เตรียมตัวรับมือ ก็จะพลาดโอกาสการเติบโตในธุรกิจนี้เช่นกัน”