สำนักพิมพ์ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับสื่อยุคดิจิทัล


การเข้ามาของสื่ออินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆเหล่านั้น กลับมาศึกษาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เปิดช่องทางให้สามารถเข้าถึงคนในทั่วทุกมุมโลกและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นว่าสามารถปรับให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอลและจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที และที่สำคัญคือบริการเหล่านี้ สามารถเปิดให้บริการโดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

การพิมพ์หนังสือกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอีบุ๊คและร้านค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะเมซอนดอทคอม แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ และกูเกิล อิงค์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนำไปสู่การผลักดันให้ลดราคาอีบุ๊ค ภายใต้เงื่อนไขตามข้อตกลงที่กำลังเจรจากันอยู่นั้น บริษัทใหม่จะดำเนินการในรูปของธุรกิจร่วมทุน โดยเบอร์เทลส์มานน์ถือหุ้นมากกว่า 50% เพียงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นว่า แรนดอม เฮาส์ มีขนาดใหญ่กว่า ด้วยยอดขายเมื่อปีที่แล้วกว่า 2,260 ล้านดอลลาร์ เทียบเพนกวินซึ่งมียอดขาย 1,600 ล้านดอลลาร์ เพนกวินมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์เล็กน้อย ขณะที่แรนดอม เฮาส์น่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเพนกวิน ดังนั้น กิจการร่วมทุนแห่งใหม่นี้ น่าจะมีมูลค่าหุ้นระหว่าง 2,000 – 3,000 ล้านดอลลาร์

เทคโนโลยีดิจิทัลเปิดทางให้นักเขียนเผยแพร่ผลงานได้ด้วยตัวเอง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า หันมาเปิดบริษัทผลิตหนังสือดิจิทัลแข่งกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ มากขึ้น ตัวเลขร้านขายหนังสือแบบเดิมที่ลดจำนวนลง กลายเป็นการเพิ่มงานยากให้กับสำนักพิมพ์ ในการแนะนำนักเขียนใหม่สู่กลุ่มผู้อ่าน สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ในการดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งคลังสินค้า การพิมพ์ การทำตลาด ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถตัดลดได้ เพราะในยุคดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานข้างต้น และแมคควิเวย์ทำนายว่า จะมีการควบรวมกิจการตามมาอีกในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบัน ส่วนแบ่งในตลาดการพิมพ์หนังสือกระจายอยู่ในมือบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ไซมอน แอนด์ ชูสเตอร์ ของซีบีเอส คอร์ป สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ธุรกิจในเครือของนิวส์ คอร์ป เจ้าของหนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล และลาการ์เดอร์ ของบริษัทฮาเซตต์ บุ๊ค กรุ๊ป