นครแวนคูเวอร์เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลกความน่าอยู่และงดงามของเมืองเกิดจากระบบการวางผังที่ยึดมั่นและเคารพต่อสภาพ ความงดงามของสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ การใช้องค์ความรู้ในระดับสูงในการออกแบบเมืองซึ่งได้สร้างให้แวนคูเวอร์มี ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการบริการประชาชน ทุกก้าวย่างในการปฏิบัติงานตามแผนการพัฒนาเมือง การสร้างวิสัยทัศน์ชุมชนและการเพิ่มขึ้นของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ แวนคูเวอร์ได้ยึดมั่นเกณฑ์สำคัญจากการเติบโตอย่างชาญฉลาด เช่น การสร้างย่านที่น่าอยู่ภายใต้ความหลากหลายของผู้คนและเชื้อชาติ การสร้างชุมขนให้กระชับ การผสมผสานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การสร้างให้เป็นชุมชนแห่งการเดิน ซึ่งแวนคูเวอร์เชื่อมั่นในแนวทางและก้าวย่างที่ผ่านมาและจะยึดมั่นในแนวทางนี้ต่อไป
แวนคูเวอร์ในอนาคตมีความเสี่ยงทั้งจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ความกดดันด้านสภาวะแวดล้อมการลดลงของทรัพยากร ความท้าทายด้านความปลอดภัยทางอาหารและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าครองชีพที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ โอกาสการมีชีวิตที่ดีขึ้น และความยั่งยืนในระยะยาว สภาแห่งนครแวนคูเวอร์ได้กำหนดเป้าหมายไว้มากมายสำหรับการจัดการลดผลกระทบจาก สภาวะโลกร้อน (เช่น การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 ในปี ค.ศ. 1990 ร้อยละ 33 ในปี ค.ศ.2012 และร้อยละ 80 ในปี ค.ศ. 2050) และสร้างระบบจัดการเชิงลึกต่อปัญหาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากทุกแหล่งข้อมูลตลอดจนติดตามประเมินผลทุกความก้าวหน้าจากการปฏิบัติงาน
ประชากรในระดับภาคเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนั้น การพัฒนาที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่เขตเมืองจะไม่เพียงพอ ราคาที่อยู่อาศัยจะสูงขึ้นซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ประชากรต้องย้ายออกไปยัง ย่านชานเมือง และเป็นปัจจัยให้เกิดการกระจัดกระจายของเมืองที่เป็นต้นเหตุของการทำลาย พื้นที่การเกษตรและพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ย่านพาณิชยกรรมใจกลางนครแวนคูเวอร์เป็นย่านพาณิชยกรรมระดับภาคที่เมืองได้ สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งงานและที่มาของรายได้ครัวเรือนของชาวแวนคูเวอร์ ดังนั้น ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะต้องมีความพร้อมด้านที่พักอาศัยให้กับประชาชนและ ไม่ตัดโอกาสในการมีที่พักอาศัยในย่านดังกล่าว สภาพของนิเวศเมืองและขนาดรอยเท้าทางนิเวศของนครแวนคูเวอร์ได้ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบันมีการบริโภคทรัพยากรเกินกว่าความ สามารถที่มีเช่นเดียวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งกำลังจะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาคารซึ่งไม่ใช่อาคารเขียวยังคงมีอยู่อีกมาก