สำนักพิมพ์ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับสื่อยุคดิจิทัล


การเข้ามาของสื่ออินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆเหล่านั้น กลับมาศึกษาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เปิดช่องทางให้สามารถเข้าถึงคนในทั่วทุกมุมโลกและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นว่าสามารถปรับให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอลและจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที และที่สำคัญคือบริการเหล่านี้ สามารถเปิดให้บริการโดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

การพิมพ์หนังสือกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอีบุ๊คและร้านค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะเมซอนดอทคอม แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ และกูเกิล อิงค์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนำไปสู่การผลักดันให้ลดราคาอีบุ๊ค ภายใต้เงื่อนไขตามข้อตกลงที่กำลังเจรจากันอยู่นั้น บริษัทใหม่จะดำเนินการในรูปของธุรกิจร่วมทุน โดยเบอร์เทลส์มานน์ถือหุ้นมากกว่า 50% เพียงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นว่า แรนดอม เฮาส์ มีขนาดใหญ่กว่า ด้วยยอดขายเมื่อปีที่แล้วกว่า 2,260 ล้านดอลลาร์ เทียบเพนกวินซึ่งมียอดขาย 1,600 ล้านดอลลาร์ เพนกวินมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์เล็กน้อย ขณะที่แรนดอม เฮาส์น่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเพนกวิน ดังนั้น กิจการร่วมทุนแห่งใหม่นี้ น่าจะมีมูลค่าหุ้นระหว่าง 2,000 – 3,000 ล้านดอลลาร์

เทคโนโลยีดิจิทัลเปิดทางให้นักเขียนเผยแพร่ผลงานได้ด้วยตัวเอง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า หันมาเปิดบริษัทผลิตหนังสือดิจิทัลแข่งกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ มากขึ้น ตัวเลขร้านขายหนังสือแบบเดิมที่ลดจำนวนลง กลายเป็นการเพิ่มงานยากให้กับสำนักพิมพ์ ในการแนะนำนักเขียนใหม่สู่กลุ่มผู้อ่าน สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ในการดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งคลังสินค้า การพิมพ์ การทำตลาด ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถตัดลดได้ เพราะในยุคดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานข้างต้น และแมคควิเวย์ทำนายว่า จะมีการควบรวมกิจการตามมาอีกในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบัน ส่วนแบ่งในตลาดการพิมพ์หนังสือกระจายอยู่ในมือบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ไซมอน แอนด์ ชูสเตอร์ ของซีบีเอส คอร์ป สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ธุรกิจในเครือของนิวส์ คอร์ป เจ้าของหนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล และลาการ์เดอร์ ของบริษัทฮาเซตต์ บุ๊ค กรุ๊ป

บริบทใหม่ของสำนักพิมพ์ในยุคดิจิตอลในปัจจุบันนี้

การแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดจะมาจากเหล่านักเขียนที่ไม่ต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์อย่างแต่ก่อนและหันมาเผยแพร่ผลงานของตนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง Amazon , Barnes & Noble และแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัว ซึ่งตรงนี้เองจะเหมือนเป็นการลดบทบาทของสำนักพิมพ์ในโลกยุคหลังการพิมพ์ (post-printing ) หรือไม่

ส่วนทางด้านสำนักพิมพ์เองก็เคลื่อนไหวไปในแนวทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และเป็นที่ชัดเจนว่า เป้าหมายของพวกเขา คือการรักษาตลาดในปัจจุบันไว้ อย่างไรก็ตามนี่ดูเหมือนจะไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว  มีการเสียส่วนแบ่งการตลาดทีละเล็กละน้อยเพิ่มขึ้นเรือย ๆ และตราบเท่าที่มีผู้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกตินั้น ยิ่งทำให้สำนักพิมพ์ลดบทบาทและความสำคัญลง

อะไรคือจุดแข็งที่สำนักพิมพ์มีและสามารถทำเงินได้ในบริบทใหม่นี้ิ
ทางเลือกหนึ่งที่น่าเป็นไปได้สำหรับสำนักพิมพ์ก็คือการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเหมือนดังผู้ให้บริการเนื้อหาฟรี หรือจ่ายเงินเมื่อเข้าใช้งาน (pay per use) และบริษัทที่ทำเกี่ยวกับด้านบรรณาธิการ มีหนังสือที่ผู้เขียนตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้วยตนเองอยู่จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาในเรื่องการพิมพ์และใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์  สำนักพิมพ์สามารถเสนอบริการพิสูจน์อักษรและแก้ไขงาน โดยคิดค่าบริการเป็นครั้ง ๆ ไป  และถ้าหากการให้บริการนี้ประสบความสำเร็จ จะมีผู้มาใช้บริการมากกว่าจำนวนคนที่บริษัทมี ตรงจุดนี้สามารถแก้ปัญหาได้โดยการสร้างบริการที่เป็นตลาดกลางแล้วเปิดให้นักพิสูจน์อักษรอิสระสามารถเข้ามาประมูลงานที่ตนเองสนใจจากนักเขียนที่ต้องการผู้พิสูจน์อักษรเช่นกัน ซ่ึ่งทางสำนักพิมพ์เองยังคงสามารถเสนอบริการของตัวเองได้ตามเดิม แต่ในระดับราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป  ซึ่งเมื่อคิดค่าธรรมเนียมพิเศษที่สูงกว่านี้ นักเขียนจะได้รับการประกันคุณภาพว่าพวกเขาจะได้รับบริการที่ดีกว่า เช่น นอกจากการแก้ไขงานแล้วยังมีการสอนในเรื่องลีลาการเขียนเพิ่มเติมอีกด้วย บริการที่สำคัญที่สุดที่สำนักพิมพ์จัดหาให้นั้น คือการคัดเลือกหนังสือและจัดเตรียมหนังสือเพื่อเข้าสู่ตลาด แม้ว่าในขั้นตอนของสำนักพิมพ์นั้นอาจจะไม่สมบูรณ์แบบในการค้นหาหนังสือที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยมันก็ประสบความสำเร็จในการร่อนกรองเอาเรื่องพวกน้ำเน่าที่ไม่สามารถอ่านได้ออกไปดังนั้นชื่อและที่อยู่ของสำนักพิมพ์ที่ปรากฏบนหน้าปกหนังสือนั้นจึงเป็นเหมือนสิ่งที่แสดงถึงระดับของคุณภาพ

การเลือกหนังสือก็เหมือนกับการที่สำนักพิมพ์กำลังผลิตหนังสือของตนเอง สำนักพิมพ์ต้องแก้ไข ผลิตและทำการตลาดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  นี่อาจรวมถึงการพูดคุยกันในบล็อกของบรรณารักษ์ นอกจากนี้การเลือกใช้บริการของสำนักพิมพ์ยังขึ้นอยู่กับหนังสือ ที่รวมถึงการดูแลแบบออฟไลน์ด้วย อย่างเช่น การจัดพิมพ์ การออกร้าน การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ  การโฆษณาและอาจรวมถึงการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้กับนักเขียนเพื่อให้ได้สิทธิการจัดการเหนือกว่าคนอื่น

เที่ยวเมืองแวนคูเวอร์ ณ สะพานแขวนคาพิลาโน (Capilano Suspension Bridge)

แวนคูเวอร์ มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายหลายประเภทเหมาะกับรสนิยมทุกเพศทุกวัย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่มากที่สุดของเมืองแวนคูเวอร์ สะพานแขวนคาพิลาโน มีความโดดเด่นด้วยความยาว 450 ฟุตและสูง 230 ฟุตเหนือแม่น้ำคาพิลาโน่ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปสู่ป่าฝนทางชายฝั่งตะวันตกและจุดท่องเที่ยวใหม่ล่าสุดของอุทยาน ได้แก่ ผจญภัยบนบ้านต้นไม้ ซึ่งระหว่างต้นไม้มีสะพานแขวนขนาดเล็กเป็นเส้นทางชมป่าที่เชื่อมต่อตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ้นเจ็ดแห่งที่ความสูงกว่า 100 ฟุตเหนือป่าเขียวชอุ่ม นอกจากนี้ผู้ที่สนใจสามารถใช้บริการนำเที่ยวชมธรรมชาติและโปรแกรมนักสำรวจรุ่นเยาว์ รวมถึงมีการจัดแสดงของสะสมส่วนบุคคลขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเกี่ยวกับเรื่องราวของกลุ่มชนชาวพื้นเมืองเผ่าอินเดียแดงที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ภายในพื้นที่สวนที่จัดไว้อย่างสวยงาม

สะพานแขวนคาพิลาโน ในบริทิชโคลอมเบีย ประเทศแคนาดา

ถูกสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2432 โดยวิศวกรชาวสกอตและข้าราชการจากแวนคูเวอร์ จอร์จ แกรนท์ แมกเกย์ ซึ่งในตอนนั้นสะพานแห่งนี้ทอดตัวยาว 137 เมตร เหนือแม่น้ำคาพิลาโน 70 เมตร ก่อนที่จะถูกปรับปรุงสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2499 จนในตอนนี้สะพานแขวนคาพิลาโนได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งมีความสูงที่น่าหวาดกลัวกับธรรมชาติอันแสนงดงาม และสะพานแขวนคาพิลาโนแห่งนี้ยังได้ถูกพิจารณาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในแวนคูเวอร์อีกด้วย

นักท่องเที่ยวจะได้เดินไปตามเส้นทางเดินป่าอันประกอบด้วยคลิฟวอร์ค ที่เป็นทางเดินริมหน้าผา ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดของอุทยานนี้ สะพานแขวนนี้ยื่นออกมาจากหน้าผาแกรนิตและพาคุณเชื่อมต่อไปยังเขตป่าฝน ตรงนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ของหุบเขาลึกจากเบื้องบนได้ บางจุดของทางเดินช่วงที่เป็นจุดที่สูงที่สุดจะถูกบุด้วยแผ่นกระจกใสเพื่อให้นักท่องเที่ยวมองเห็นยอดของต้นไม้ที่อยู่ใต้เท้าลงไปเพียงไม่กี่นิ้ว ที่จริงแล้วมีสะพานและทางเดินเท้าอีกหลายจุดคอยให้บริการที่ทรีท็อปส์ แอดเวนเจอร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะพาคุณเคลื่อนย้ายจากต้นสนดักลาสต้นหนึ่งไปยังอีกต้น

แวนคูเวอร์ เมืองหน้าอยู่อันดับ 3 ของโลก

แวนคูเวอร์ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดาและเป็นเมืองที่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีอากาศที่เย็นสบายและความสวยงามของภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยมหาสมุทรและหุบเขา ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โอบล้อมไปด้วยภูเขาและทะเล อากาศอบอุ่นสบายทั้งปีพร้อมด้วยระบบขนส่งขนมวลชนที่ดีเยี่ยม ทั้งยังเป็นเมืองที่สะอาดและปลอดภัย ส่งผลให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทุกปี แวนคูเวอร์ได้รับการโหวตให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก

เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองที่มีความเป็นสากลเพราะผู้คนจากทั่วโลกต่างหลั่งไหลเข้ามาในเมืองนี้ ผู้คนในแวนคูเวอร์จึงมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ทันสมัยและไม่เหมือนใคร มีย่านธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่นี่มีร้านอาหาร ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก มีร้านกาแฟบรรยากาศดีแลมีห้างสรรพสินค้ามากมายเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ ที่ชื่นชอบการช้อปปิ้ง นอกจากนั้นเทศกาลต่างๆ อาทิเช่น เทศกาลทางศิลปะ วัฒนธรรม อาทิเช่น เทศกาลดนตรี เทศกาลดอกไม้ไฟ งานแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ก็ถูกจัดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆอยู่เป็นประจำ ทำให้ในแต่ละปียังมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเพื่อเข้ามาสัมผัสความงามของเมืองแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

สถานที่แรกที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนแวนคูเวอร์

คือ สวนสาธารณะสแตนเลย์ สวนสาธารณะที่ได้รับการยกย่องว่าใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเมืองแวนคูเวอร์ใช้ที่นี่เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามบริสุทธิ์ของธรรมชาติ อย่าลืมแวะชมและถ่ายภาพกับเสาโทเท็มของชนเผ่าอินเดียนแดง สัญลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ สำหรับรำลึกว่าที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของอินเดียนแดง เสาโทเท็มนี้ยังปรากฏอยู่ตามสถานที่สำคัญของเมืองอีกหลายแห่ง เป็นสัญลักษณ์เด่นที่ทำให้ผู้คนจดจำเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกแห่งนี้

เมืองแวนคูเวอร์นี้ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือ

จึงเป็นช่องทางที่จะผ่านเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกช่องทางหนึ่ง ทิศเหนือจรดอ่าวเบอร์ราร์ด ทิศตะวันตกจรดช่องแคบจอร์เจีย และทิศใต้จรดแม่น้ำเพรเซอร์ ส่วนทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเล ทำให้แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในแคนาดา ลักษณะภูมิประเทศอาณาบริเวณ 3 ใน 4 ของแวนคูเวอร์นี้ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นเมืองที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักความงดงามตามธรรมชาติด้วยกิตติศัพท์ความสวยงามของภูมิประเทศ ที่ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา น้ำทะเล ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์

ส่องกลยุทธ์สำนักพิมพ์ โหมเทรนด์ ‘อีบุ๊ค’ รับตลาดแทบเล็ตบูม

การแข่งขันของธุรกิจ”หนังสือ” ในยุคดิจิทัล จำเป็นต้องปรับตัวรับมือ “สื่อใหม่” ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคนี้ ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้อ่านหนังสือเล่ม ทำให้บรรดา “สำนักพิมพ์”หลายค่าย ต่างเดินหน้าสร้างสรรค์กลยุทธ์ต่อยอดคอนเทนท์ รวมถึงผสมผสานการใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ เพื่อสร้างฐานผู้อ่านทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่และความสะดวกสบาย ซึ่งเกิดจากการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆส่งผลให้พฤติกรรมเรื่องการสืบค้นข้อมูล รวมถึงการ “อ่านหนังสือ” เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางประชากรไอแพดขยับเป็น 3 แสนรายในปีที่ผ่านมา ขณะที่ไอโฟนพุ่งกว่า 1 ล้านราย และเทรนด์การใช้แทบเล็ตยังขยายตัวต่อเนื่องนั่นหมายถึง แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ “อีบุ๊ค” ในยุคที่สื่อดิจิทัลกำลังเฟื่องฟู

โดยเฉพาะกลุ่มสำนักพิมพ์รายใหญ่ประมาณ 30 สำนักพิมพ์ จากสมาชิกสมาคมกว่า 500 สำนักพิมพ์ ซึ่งมีความพร้อมด้านการลงทุนได้นำร่องเปิดตัว “แอพพลิเคชั่น” ของสำนักพิมพ์ เปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือผ่านแอพสโตร์ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

มองว่าแนวโน้มการขยายตัวของตลาดอีบุ๊ค จะต้องมีปัจจัยสนับสนุนด้านการพัฒนาคอนเทนท์ในรูปแบบอีบุ๊คของสำนักพิมพ์ต่างๆ การขยายตัวของจำนวน สมาร์ทดีไวซ์ ประเภทแทบเล็ตเกิน 1 ล้านเครื่อง จากสิ้นปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3 แสนเครื่อง และการพัฒนาโครงข่าย 3G เพื่อสร้างความสะดวกและรวดเร็วในการดาวน์โหลด

ปัจจุบันสำนักพิมพ์ที่ให้บริการอีบุ๊คและมียอดดาวน์โหลดเกิน 1 ล้าน ส่วนใหญ่ยังเป็นการเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีถึง 90% แต่ถือเป็นอีกช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่ โดยมูลค่าของอุตสาหกรรมหนังสือเล่มในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าราว 22,800 ล้านบาท แม้ยังไม่สามารถประเมินเม็ดเงินจากตลาดอีบุ๊คได้ แต่ถือเป็นเทรนด์ที่กลุ่มสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลในอนาคต

ทิศทางอีบุ๊คกำลังได้รับความสนใจจากผู้อ่านทั่วโลก เห็นได้จาก “อะเมซอน” ได้ประกาศในเดือน พ.ค.ปีที่ผ่านมา ว่า ยอดขายอีบุ๊คได้แซงหน้าการขายหนังสือเล่มไปแล้ว เชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน เมื่อเทคโนโลยีพร้อม และการครองครอบแทบเล็ต ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการอ่านหนังสือในรูปแบบดิจิทัลบุ๊ค มีจำนวนมากพอ อีกทั้งอีบุ๊คยังเป็นโอกาสของการขยายตลาดใหม่ๆ ในกับสำนักพิมพ์โดยเฉพาะกลุ่มผู้อ่านในต่างประเทศได้เพิ่มเติม

“ปัจจุบันสำนักพิมพ์ค่ายใหญ่ๆ มีการพัฒนา บิซิเนส โมเดล เพื่อรองรับตลาดอีบุ๊คไว้พร้อมแล้ว เพราะวันนี้ โลกยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว หากตลาดและผู้บริโภคมีความพร้อม แต่สำนักพิมพ์ไม่เตรียมตัวรับมือ ก็จะพลาดโอกาสการเติบโตในธุรกิจนี้เช่นกัน”

สำนักพิมพ์ต่างก็พากันคิดหาวิธีการขายและแรงจูงใจในการซื้อใหม่ ๆ

ยอดขายหนังสือในสหรัฐฯ และยุโรปไม่ขยับไปไหนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ในขณะที่สำนักพิมพ์ต่างก็พากันคิดหาวิธีการขายและแรงจูงใจในการซื้อใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้กลายมาเป็นลูกค้า โดยลืมนึกไปถึงตลาดเกิดใหม่ซึ่งก็คือ “กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา”

ปัจจุบันมีเด็กจำนวน 250 ล้านคนทั่วโลกที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประเทศอย่าง เฮติ รวันดา และสาธารณรัฐคองโก เป็นเรื่องยากมากที่จะหาโรงเรียนที่มีหนังสือเรียน หรืออาจมีเพียงหนังสือเรียนขาด ๆ เพียงสองสามเล่มต่อนักเรียนหลายร้อยคน น้อยมากที่จะมีโรงเรียนที่มีหนังสืออยู่จนเต็มชั้น โดยเฉพาะประเทศเฮติ มีโรงเรียนน้อยกว่า 15% ที่มีห้องสมุด !

จริง ๆ แล้วโรงเรียนเป็นสถานที่ที่จำเป็นต้องมีหนังสือมากที่สุด หากโรงเรียนไม่มีหนังสือแล้ว เด็ก ๆ จะเติบโตโดยปราศจากความรักในการอ่าน และส่งผลให้ขาดความสามารถในการอ่าน หากมองในภาพรวมแล้วเมื่อไม่มีหนังสือในโรงเรียน ก็ย่อมไม่มีตลาดสำหรับร้านหนังสือ ebook นักเขียน หรือสำนักพิมพ์ด้วยเช่นกัน !!

ต้องขอขอบคุณเทคโนโลยี สำนักพิมพ์ในสหรัฐฯและประเทศที่พัฒนาแล้วมีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา Ebook บวกกับสมาร์ทโฟนราคาถูก เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ครอบคลุมทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งการมี DRM ที่ช่วยให้สำนักพิมพ์สามารถผลักดันเนื้อหาของตนเองไปยังมุมห่างไกลของโลก

ข้อมูลดังกล่าวทำให้เราต้องคำนึงถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่สำคัญ

กลุ่มผู้อ่านเนื้อหาภาษาอังกฤษมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก แต่ลักษณะไหน เรื่องแบบไหนและรูปภาพอะไรที่จะสะท้อนเข้าถึงความต้องการของเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ในสลัมอันห่างไกล ? เรายังไม่รู้เลย เนื่องจากเด็กเหล่า ๆ นี้ไม่เคยได้ยินชื่อ Harry Potter หรือรายการทีวี วิดิโอเกมส์ และ app ที่แข่งขันกันดึงความสนใจในครอบครัวยุคใหม่ของประเทศที่พัฒนาแล้ว

การวางแผนเปิดธุรกิจสำนักพิมพ์ให้เกิดประโยชน์กับคนที่รักการอ่าน

การวางแผนเปิดธุรกิจสำนักพิมพ์ให้เกิดประโยชน์กับคนที่รักการอ่าน

ธุรกิจสำนักพิมพ์ให้ฟังกันคร่าวๆ จากการสำรวจจำนวนสำนักพิมพ์ในช่วงปี 2546 ถึง กลางปี 2548 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปรากฏว่า ในบ้านเรามีจำนวนสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ 5% ขนาดกลาง 15% ที่เหลือเป็นขนาดเล็ก ข้อมูลนี้ทำให้เราทราบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมากที่สุด เมื่อเทียบกับขนาดกลางและขนาดใหญ่ นอกจากนั้น จากการที่ทางสมาคมฯได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้มีประชาชนมางานมหกรรมหนังสือกันอย่างล้นหลามนั้น ผลปรากฏว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด คือ การเป็นศูนย์รวมของหนังสือที่หลากหลาย สิ่งนี้ช่วยให้ธุรกิจหนังสือยังคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสรุปอัตราการซื้อหนังสือของคนไทยในช่วงปี 2547 เป็นต้นมา พบว่า คนไทยซื้อหนังสือในแต่ละครั้ง เฉลี่ยคนละ 247 บาท ซึ่งราคาหนังสือต่อเล่มส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ย 140 บาท หมายความว่า คนไทยซื้อหนังสือเฉลี่ยคนละประมาณเล่มครึ่ง เราน่าจะกระตุ้นให้คนไทยซื้อหนังสือเพิ่มขึ้นจากเล่มครึ่งเป็นสองเล่ม โดยสำนักพิมพ์ต้องเป็นตัวหลักที่มุ่งผลิตหนังสือที่มีเนื้อหาที่หลากหลาย และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น แต่ไม่อยากให้มองว่าธุรกิจสำนักพิมพ์คือการแข่งขัน ทางที่ดีเราน่าจะช่วยกันกระตุ้นให้ภาพรวมของธุรกิจสำนักพิมพ์มีทั้งเนื้อหาที่หลากหลายและสร้างสรรค์สังคมด้วย

ทางสมาคมฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในวงการหนังสือ รวมทั้งผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาสู่วงการนี้ ก่อนหน้านี้ ได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรบรรยายหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช AIA มติชน สำนักพิมพ์จุฬา เป็นต้น เนื่องจากรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังให้การสนับสนุนSMEs ซึ่งสำนักพิมพ์ในบ้านเราส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจแบบ SMEs ด้วย โดยส่วนตัว ก็เริ่มต้นทำธุรกิจแบบครอบครัว หรือ SMEs มาก่อน ทำมาจนถึงทุกวันนี้รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี โดยเริ่มจากการกวดวิชาก่อน ต่อจากนั้นก็ลงมือเป็นนักเขียนเอง แล้วจึงมาเปิดธุรกิจสำนักพิมพ์ สำหรับผู้ที่ดำเนินรอยตาม คือ อาจารย์นรินทร์ สอนกวดวิชาอยู่ที่ “ฟิสิกเซ็นเตอร์” เป็นต้น ส่วนใหญ่เจ้าของสำนักพิมพ์จะเคยทำงานอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น โรงพิมพ์ องค์กรที่ทำนิตยสาร วารสารต่างๆ เขาสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำ Pocket book ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่ได้อยู่ในแวดวงนี้แล้วจะเปิดสำนักพิมพ์ไม่ได้ ถ้าใครมีความสามารถในการบริหารธุรกิจได้ มีเงินทุน ก็ทำธุรกิจสำนักพิมพ์ได้ โดยปกติแล้ว ภาพรวมของงานสำนักพิมพ์เป็นลักษณะงานที่ทำไม่ยาก ยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกมีมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ถือว่างานสำนักพิมพ์ทำง่ายกว่ามาก สมัยก่อนเคยทำหนังสือ “คู่มือสอบเข้าประสานมิตร วิชาเอกภาษาไทย” ใครจะทำหนังสือเมื่อก่อนต้องไปวางขายที่สนามหลวงเป็นแห่งแรก